Sunday, December 16, 2018

สอนลูกให้รักการเรียนรู้:กุญแจสู่การสร้างแรงจูงใจของลูก


โดย ดร.อีลีน เคนเนดี้-มัวร์
มีไม่กี่เรื่องที่ทำให้ผู้ปกครองหงุดหงิดมากไปกว่าการมีลูกที่ ขาดความพยายามไม่ว่าจะเป็นการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ หรือการเรียนกีตาร์ที่ลูกขอเรียนแต่ไม่เคยซ้อม เราอยากให้ลูกๆเป็นเด็กกระตือรือร้นในการเรียนรู้ มีความพยายาม กล้าเผชิญความท้าทาย และเข้าใจคุณค่าของความมานะอดทน ในทางตรงกันข้ามสิ่งที่เราพ่อแม่พบเจอมักจะเป็นการลากเท้าหรือการพร่ำบ่น  มันน่าเบื่อ! ” จากปากลูกแทน

ทำให้เป็นเรื่องสนุก
บางครั้งการสร้างแรงจูงใจก็เป็นเรื่องง่าย เมื่องานที่ต้องทำนั้นสนุกและน่าสนใจ การลงมือทำอย่างเอาจริงเอาจังกลับเป็นเรื่องง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ ลองนึกถึงเด็กที่ชอบเล่นบาสเก็ตบอลซ้อมชู๊ตแป้นบาสอย่างไม่รู้จักเบื่อ เด็กชื่นชอบเทพเจ้ากรีกก็จะชอบอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้อย่างเมามัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างของการมีแรงจูงใจจากภายในเพราะว่าแรงจูงใจเกิดจากความสนุกสนานจากเนื้องานที่ต้องทำเหล่านั้นเอง
หากเป็นไปได้ การสร้างแรงจูงใจจากภายในโดยการเปลี่ยนงานที่ต้องทำเป็นกิจกรรมที่ทำแล้วสนุกดีแทนเป็นความคิดที่ดีทีเดียว การเป็นคนขี้เล่น มีอารมณ์ขัน ปล่อยให้เด็กๆได้ทดลอง กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกสนานมากขึ้น

แต่แรงจูงใจจากภายในจะเป็นตัวที่ทำให้เด็กเรียนรู้ต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ บางครั้งการเรียนรู้เป็นเพียงการทำงานพื้นๆและแรงจูงใจจึงต้องมาจากสิ่งอื่นนอกเหนือจากเนื้องานที่ต้องทำ
ความเสี่ยงจากการให้รางวัล
บ่อยครั้งทีเดียวเมื่อแรงจูงใจของเด็กๆลดน้อยถอยลง ผู้ใหญ่จะยื่นของรางวัลให้เพื่อให้เด็กๆยังทำมันต่อไป สิ่งเหล่านี้มักมีผลดีเพียงช่วยครั้งชั่วคราวเท่านั้น การใช้สติ๊กเกอร์ชาร์ตหรือการยื่นข้อเสนอว่าจะซื้อของเล่นเล็กๆน้อยๆมักมีผลแค่ให้พฤติกรรมดีขึ้นแค่เพียงระยะสั้นๆเท่านั้น บางนั่นก็เพียงพอแล้วเพื่อให้ผ่านสถานการณ์ที่ยุ่งยากไป รางวัลเล็กๆน้อยๆจะช่วยให้เด็กๆอิดออดน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากงานนั้นๆจะค่อยๆง่ายขึ้นหรือสนุกขึ้นเมื่อทำได้คล่องแล้ว
แต่การให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจก็มีข้อจำกัด หลังจากประมาณสามสัปดาห์ เด็กๆก็จะเคยชินกับระบบการให้รางวัลและเบื่อหน่ายกับมัน การให้รางวัลทำให้งานที่ต้องทำนั้นกลายเป็นสิ่งที่เลือกว่าจะทำหรือไม่ก็ได้ เด็กๆอาจจะตัดสินใจว่ารางวัลที่จะได้นั้น ไม่คุ้มกันเลย!” และมองข้ามผ่านทั้งงานที่ต้องทำและรางวัลที่จะได้รับไปเสีย เด็กๆอาจจะพยายามต่อรองเพื่อให้ได้รางวัลที่ต้องการมาโดยลงมือทำให้น้อยที่สุด
การให้รางวัลบ่อยเกินไปอาจนำไปสู่พฤติกรรมชอบต่อรองในเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่คงไม่อยากฝึกเด็กๆให้ตอบสนองต่อทุกคำขอร้องด้วยท่าที่ว่า ถ้าหนูทำหนูจะได้อะไร?” ใช่ไหมคะ
อีกทางหนึ่งการให้รางวัลอาจกัดกร่อนแรงจูงใจจากภายในของตัวเด็กเนื่องจากมันสื่อว่า งานนี้ไม่ใช่งานที่หนูจะเลือกลงมือทำด้วยตัวเอง! หนูแค่เลือกทำมันเพื่อของรางวัลเท่านั้น
การให้รางวัลเป็นการควบคุมจากภายนอก แต่สิ่งที่เราให้ลูกของเรามีคือแรงจูงใจจากภายในซึ่งมาจากตัวตนและสิ่งที่เขาให้คุณค่านั่นเอง - แรงจูงใจที่เด็กๆจะยังคงมีอยู่แม้เมื่องงานนั้นจะไม่ง่ายและเมื่อเราไม่ได้วนเวียนอยู่รอบๆเพื่อกระตุ้นเขาแล้วก็ตาม
การสร้างแรงจูงใจจากภายใน
บนพื้นฐานจากงานวิจัยของ เอ็ดเวิร์ด เดซี และริชาร์ด ไรอัน จากมหาวิทยาลัยแห่งโรเชสเตอร์ ชี้ให้เห็นถึงสิ่งสำคัญพื้นฐานสามสิ่งที่มีช่วยสร้างแรงจูงใจจากภายใน: ความสามารถ(Competence) อิสรภาพในการจัดการตนเอง(Autonomy) และความสัมพันธ์(Connection) เราสามารถช่วยให้เด็กๆสร้างแรงจูงใจจากภายในด้วยการสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเหล่านี้
ความสามารถทำได้ดี (Competence)
ความชำนาญเป็นแรงกระตุ้นที่มีผลอย่างมาก  เมื่อเด็กๆปั่นจักรยานได้เป็นครั้งแรก พวกเขามักจะอยากปั่นมันทั้งวันทั้งคืนอย่างต่อเนื่องทุกๆวัน ความเชี่ยวชาญในทักษะใหม่ๆนั้นเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น ในทางตรงกันข้าม เด็กๆมักจะต่อต้านกิจกรรมที่เค้าคิดว่าเค้าทำมันได้ไม่ค่อยดีนัก ไม่ว่าจะเป็นการเขียน การเล่นเบสบอลหรือการเรียนไวโอลิน เมื่อเด็กๆคิดว่าเค้าทำกิจกรรมใดได้แย่กว่าเพื่อนๆในวัยเดียวกันอย่างชัดเจน เค้าก็จะไม่อยากทำมันอีก เค้ารู้สึกอับอายหรือขายหน้าและพร่ำบ่นว่ากิจกรรมนั้น งี่เง่าและน่าเบื่อ
บางครั้ง ทางแก้ปัญหาคือการเพิ่มทักษะความสามารถของเด็กโดพิจารณาช่องว่างระหว่างทักษะที่ควรทำได้กับความสามารถที่เขาทำได้ในปัจจุบัน, ความบกพร่องในการเรียนรู้ หรือปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ บางครั้งเด็กๆก็จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือในการทำความเข้าใจว่าทำอย่างไรเขาถึงจะสามารถทำมันได้ดี
  • ให้ค่าความพยายามและกลยุทธในการฝึกฝนทักษะ งานวิจัยของแครอล ดเวคและเพื่อนร่วมงานของเธอแสดงให้เห็นว่าการชื่นชมเด็กถึงความพยายามแทนความสามารถที่ติดตัวมาแต่เกิดจะช่วยให้เขาอยากจะเผชิญสิ่งท้าทายในภายภาคหน้าต่อไป เด็กๆจะได้รับประโยชน์จากกลยุทธในการเรียนรู้ทักษะด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การทบทวนบทเรียนวิชาคณิตศาสตร์ด้วยการฝึกฝนแก้ปัญหาโจทย์เลขนั้นได้ผลดีกว่าการเพียงแค่อ่านโน๊ตเนื้อหาบทเรียน การใส่ใจในความพยายามและกลยุทธที่เหมาะสมในการฝึกทักษะจะนำทางให้เด็กๆมีความเชี่ยชาญในทักษะนั้นๆได้ดีขึ้น
  • กำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน เด็กๆอาจถอดใจได้หากเขาได้พยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเต็มที่แล้วภายหลังได้ยินว่า หนูทำมันผิดหมดเลยจ๊ะ หรือ หนูพลาดไปเยอะทีเดียวเลยล่ะ หากลูกของคุณมีแนวโน้มที่จะลงมือทำกิจกรรมโดยไม่ได้อ่านโจทย์ที่ให้มาอยู่เสมอ การอ่านโจทย์หรือเกณฑ์การให้คะแนนด้วยกันก่อนที่จะให้ลูกเริ่มลงมือทำงานจะช่วยลดการสูญเสียน้ำตาและความความพยายามที่สูญเปล่าได้ ฝึกให้ลูกวงกลมหรือขีดเส้นใต้เน้นสิ่งที่สำคัญในโจทย์หรือเช็คหัวข้อโครงงานที่ได้ทำเสร็จแล้ว เพื่อฝึกให้ลูกเป็นคนละเอียดรอบคอบ
  • ชี้ให้เห็นพัฒนาการ การที่เด็กๆได้มองเห็นพัฒนาการของตนเองจะช่วยหนุนใจให้เขาเชื่อมั่นความสามารถของตัวเอง กระจายงานใหญ่ที่ต้องทำเป็นงานย่อยทีละขั้นเพื่อให้เด็กๆมองเห็นว่างานที่ทำกำลังก้าวหน้าเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้นเรื่อยๆ หลืออีกแค่ส่วนเดียวก็จะเสร็จแล้ว!” เล่าเรื่องที่ลูกของคุณเคยพยายามต่อสู้และเอาชนะอุปสรรคได้ในที่สุด คุณอาจพูดในทำนองว่า ลูกเคยมีปัญหากับอุปสรรคเหล่านั้น แต่ตอนนี้ลูกก็เข้าใจและรู้ว่าจะรับมือกับมันได้อย่างไรแล้ว!”

อิสรภาพในการจัดการตนเอง (Autonomy)
ไม่มีใครอยากถูกบังคับ บางครั้งเด็กๆก็ขาดแรงจูงใจเพียงเพราะเขารู้สึกว่ากำลังถูกบังคับให้ทำอะไรบางอย่าง แน่นอนว่าเราไม่อาจให้อิสรภาพเด็กๆที่จำทำเฉพาะสิ่งที่อยากจะทำเท่านั้น แต่เราควรลดแรงต่อต้านให้เหลือน้อยที่สุดโดยการยินยอมให้ลูกมีอิสระในการตัดสินใจอยู่บ้าง ไม่ว่าจะด้วยการ
  • ให้ทางเลือก การอนุญาตให้เด็กแสดงความคิดเห็นว่าเขาจะทำงานนั้นๆอย่างไรช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้ลงมือทำมากขึ้น ให้ลูกของคุณเลือกระหว่างทางเลือกที่เป็นไปได้ ทำงานนี้หรืองานนั้น? ทำตอนนี้หรือเมื่อไหร่ดี? จำกัดทางเลือกไว้ไม่เกินสองสามทางเลือกเพราะเด็กๆอาจสับสนได้หากมีทางเลือกมากเกินไป
  • อธิบายเหตุผลที่เด็กๆเข้าใจได้ เด็กๆจะลงมือทำสิ่งที่เขาเข้าใจเหตุผลว่าทำไมจำเป็นต้องทำง่ายขึ้น บ่อยครั้งเด็กๆมักบ่นว่า ทำไมหนูถึงต้องเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ที่ไม่เห็นว่าเราจำเป็นต้องใช้มันเลย?” คำตอบที่เป็นไปได้ทางหนึ่งคือ ก็เพราะว่ามันจะช่วยให้หนูได้ฝึกทักษะที่จำเป็นใช้ไปตลอด ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการทำงานให้สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกจดจำข้อมูล และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ไงจ๊ะ
  • กระตุ้นการฝึกแก้ปัญหา ทางแก้ที่ดีที่สุดต่อปัญหาขาดแรงจูงใจมักเกิดจากตัวเด็กๆเอง ในช่วงที่เขาสงบลงแล้ว ลองถามลูกของคุณ หนูคิดว่ามีอะไรบ้างที่จะช่วยให้หนูทำมันจนสำเร็จได้บ้างจ๊ะ?” คุณอาจต้องใช้เวลาและความอดทนในการกระตุ้นให้เด็กๆก้าวข้ามผ่านการพร่ำบ่นไปสู่การวางแผนและลงมือทำ

สายสัมพันธ์ (Connection)
ความสัมพันธ์นั้นเป็นรากฐานที่สำคัญมากต่อแรงจูงใจ เด็กๆล้วนอยากทำสิ่งที่จะทำให้เขาใกล้ชิดกับผู้คนหรือกลุ่มคนที่เขารักมากขึ้น
  • ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของลูก บางครั้งสิ่งที่เด็กๆต้องการเพื่อให้พวกเขาสามารถก้าวต่อไปได้คือการแค่ได้รู้ว่ามีใครคนหนึ่งเข้าใจความอึดอัดในใจของเขา คุณอาจพูดกับลูกว่า ลูกคิดว่ามันไม่ยุติธรรมเลยที่คุณครูมอบหมายงานให้ลูกตั้งมากมาย
  • มองหาคนต้นแบบและแรงสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจไม่เป็นต้องเป็นเรื่องของคนๆเดียว บุคคลต้นแบบอาจช่วยให้เด็กจินตนาการเห็นภาพของตัวเองในอนาคต การมีคุณครูที่เขารักหรือเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันนั้นมีส่วนเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆได้เป็นอย่างดี ทบทวนบทเรียนกับเพื่อนช่วยแบ่งเบาการเรียนรู้ให้เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายขึ้น แค่เพียงการได้นั่งใกล้ๆใครซักคนขณะทำงานก็ช่วยลดความรู้สึกท้อแท้และมีความพยายามมากขึ้นแล้ว
  • การตั้งความคาดหวังอย่างเหมาะสม โดยทั่วไปแล้วเด็กทุกคนล้วนอยากให้คุณพ่อคุณแม่พึงพอใจ ปัจจัยนี้ไม่ใช่แรงจูงใจเพียงอย่างเดียว แต่เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เด็กๆไม่เคยโตเกินไปที่จะอยากทำให้คุณพ่อคุณแม่ภาคภูมิใจ การชมเชยมากเกินความเป็นจริงไม่ช่วยอะไร แต่เราก็ไม่หวงคำชื่นชมเพราะ

ไม่มีใครที่มีแรงจูงใจในทุกๆงานที่ทำอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา คนเราล้วนมีวันที่ต้องการพักและงานบางงานที่เราหลีกเลี่ยงที่จะทำ และเด็กๆก็ไม่จำเป็นต้องแสดงประสิทธิภาพในการทำงานในระดับเดียวกับผู้ใหญ่เช่นกัน
การมีแรงจูงใจจากภายในในการทำงานที่ไม่สนุกเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการฝึกฝนและวุฒิภาวะ ในขณะเดียวกันเราจำต้องใจเย็นและมีคาดหวังต่อเด็กๆอย่างสมเหตุสมผลสะท้อนสิ่งที่ลูกๆของเราทำได้ หรือเกินกว่าปกติเล็กน้อย และเราต้องจำไว้เสมอว่าความรักความอบอุ่นและกำลังใจนั้นสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กๆมากกว่าการวิพากษ์วิจารณ์
คุณเคยมีคุณครูคนพิเศษที่เป็นแรงบันดาลใจและสร้างแรงจูงใจให้คุณไหมล่ะ? ลองนึกทบทวนดูสิว่าคุณครูท่านนั้นทำได้อย่างไร?
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อวัฒถุประสงค์ทางการศึกษาเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือทดแทนการให้คำแนะนำทางการแพทย์ การบำบัดทางจิต หรือการเข้ารับบริการเกี่ยวกับสุขภาพจิตได้
อ้างอิงจาก http://www.pbs.org/parents/expert-tips-advice/2015/08/teach-child-love-learning-keys-kids-motivation/

No comments:

Post a Comment