Monday, January 14, 2013

[Recommend]:: แนะนำหนังสือแบบฝึกหัดเตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัย

ตั้งแต่เล็กๆเมื่อสอนปั้นสิบหวานจะเริ่มจากความรู้ทั่วๆไปที่เรานึกออกก่อน เช่น ทำความรู้จัก สัตว์ และสิ่งของรอบๆตัว รูปทรงต่างๆ สี จำนวน ตัวเลข อักษรภาษาไทย และภาษาอังกฤษ 

พอปั้นสิบโตขึ้นมาอีกหน่อย ก็เริ่มมองหาหนังสือแบบฝึกหัดมาให้ลูกทำ แต่ปัญหาที่เจอคือไม่รู้ว่าเล่มไหนเหมาะกับลูกเรา วัยขนาดนี้ควรทำแบบฝึกเนื้อหาอะไรบ้าง จะอ้างอิงตามเกณฑ์อายุที่ปกหนังสือระบุ บางเล่มก็ยากไป เนื้อหาก็ข้ามไปเรื่องโน้นทีเรื่องนี้ที ไม่มีการเรียงตามลำดับความง่ายไปยาก พอลูกทำไม่ได้เราก็มากังวลอีกว่าหรือลูกเราจะเรียนรู้ช้ากว่าเกณฑ์ ทำเอาคนเป็นแม่เครียดไปเลย จนกระทั่งไปอ่านเจอบทสัมภาษณ์ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงทำให้เข้าใจว่าเราไม่สามารถวัดความสามารถเด็กตามอายุได้ แต่เด็กแต่ละคนจะมีศักยภาพในการเรียนรู้แต่ละเรื่องไม่เท่ากัน ดังนั้นหากเด็กที่เราสอนไม่เข้าใจในเรื่องใด ให้ย้อนลงไปสอนเนื้อหาที่ง่ายกว่านั้นให้เขาเข้าใจก่อนแล้วจึงค่อยขยับเนื้อหามาสอนเรื่องที่มีความซับซ้อนขึ้นแทน 

ด้วยเหตุนี้หวานจึงได้ปรับให้ปั้นสิบได้ทำแบบฝึกเป็นชุด ที่มีเนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปยากแทน อะไรที่ยากทำไม่ได้ก็ให้เขาข้ามไปก่อน แล้วเรามาร์กหัวข้อนั้นไว้เพื่อเตรียมเนื้อหาและวิธีการสอนเรื่องนั้นๆ แล้วจึงกลับมาทำความเข้าใจกับปั้นสิบผ่านการสอนและกิจกรรม  จากนั้นค่อยให้กลับมาทำแบบฝึกหัดนั้นอีกรอบ 

สำหรับรายชื่อหนังสือที่หวานซื้อตุนไวให้ปั้นสิบบางส่วนเป็นรายการชื่อหนังสือเตรียมสอบสาธิตจากคุณแม่ท่านหนึ่งซึ่งได้มาจากการค้นในหาในเน็ต บางส่วนได้จากการเดินเลือกอ่านตามงานสัปดาห์หนังสือด้วยตัวเอง และบางส่วนได้มากจากมรดกของลูกพี่ลูกน้องปั้นสิบเองซึ่งเรียนชั้นโตกว่า ซึ่งรายขื่อหนังสือแบบฝึกหัดที่น่าสนใจประกอบไปด้วย

1. ชุดเตรียมความพร้อมปฐมวัยและชุดสาระการเรียนรู้ปฐมวัย อายุ 3-6 ปี ของสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น
2. ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาตร์ ระดับอนุบาล 1-3 ของสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
3 ชุดแบบฝึกทักษะเด็กปฐมวัย โดย อ.วรมน สอนสมบุญ จัดจำหน่ายโดย วรรณาบุ๊คส์
4 ชุดเตรียมสอบเข้า ป.1 เสริมทักษะพื้นฐานระดับอนุบาล 3 โดย อ.ทองทิพย์ วงศ์หลิว จัดจากหน่ายโดย สำนักพิมพ์ดอกหญ้าวิชาการ
5 ชุดเพื่อสอบเข้าป.1 เสริมทักษะพื้นฐานระดับอนุบาล โดย อ.สุภัทรา ฤทธิบุตร จัดจากหน่ายโดย สำนักพิมพ์ดอกหญ้าวิชาการ
6 แบบฝึกตาและมือให้สัมพันธ์กัน เล่ม 1-4 โดย อ.พูนสุข บุณย์สวัสดิ์ และอ.ลักษณ์ยุทธ ตรีชัย จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์บรรณกิจ (ไว้ฝึกกล้ามเนื้อมือ และทักษะตามือสัมพันธ์กัน)
7. แบบทดสอบเตรียมความพร้อมเชาว์ปัญญา เล่ม 1-2 โดย อ.รสสุคนธ์ ธนะหล่อเสรี
8. ติวลูกเตรียมสอบ คู่มือเตรียมสอบเข้า ป.1 โรงเรียนในเครือสาธิต เล่ม 1-3 ของสำนักพิมพ์ พาสพับลิชชิ่ง

เอาเท่าที่มีข้อมูลตอนนี้ก่อน ถ้ามีแบบฝึกเล่มไหนน่าสนใจอีกค่อยมาอัพเดทกันอีกทีนะคะ


[Patterns and Relations]:: แบบรูปและความสัมพันธ์ (อนุกรม)

จุดประสงค์การเรียนรู้
ในช่วงชั้นปฐมวัยเด็กๆเรียนรู้เรื่องแบบรูปเพื่อฝึกสังเกตุความสัมพันธ์ และสามารถสร้างแบบรูปที่มีความสัมพันธ์กันขึ้นเอง เด็กๆจะได้ฝึกสังเกตุมองหารูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆว่ามีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร และสามารถนำไปต่อยอดในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ในบทเรียนพีชคณิตขั้นสูงขึ้นต่อไป แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งการการได้ปูพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คือ การที่เด็กๆจะได้ฝึกทักษะต่างๆเหล่านี้
  - ทักษะการสังเกตุ แยก จัดกลุ่มตามรูปแบบความสัมพันธ์ของวัตถุ 
  - ทักษะการคิดวิเคราะห์ ให้มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน และรอบคอบ

ก่อนเรียนรู้บทเรียนนี้ผู้เรียนควรมีพื้นฐานในเรื่องต่อไปนี้ (ขึ้นอยู่กับระดับความซับซ้อนของแบบรูป)
  - รูปทรงเรขาคณิต สี ขนาด 
  - จำนวนและตัวเลข ลำดับอักษรไทย อังกฤษ

แบบรูปคืออะไร?
แบบรูป (Patterns) หรือที่บางครั้งเรียกว่า อนุกรม คือ ชุดของตัวเลข หรือรูปภาพที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือขนาด ตามกฏเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูป เราก็จะสามารถบอก คาดเดาหรือคาดการณ์ได้ว่า สิ่งต่างๆ รูปเรขาคณิต รูปอื่นๆ หรือ จำนวนที่หายไปคืออะไร

แบบรูปมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ตามหลักแล้วเราแบ่งแบบรูปออกตามประเภทความสัมพันธ์ได้ดังนี้

1. แบบรูปของจำนวน (Number Patterns)
    เป็น แบบรูปที่แสดงชุดของตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง แบ่งออกเป็น
    
    1.1 แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้น
    ตัวอย่าง
    แบบรูปที่จำนวนเพิ่มขึ้นทีละ 1: 1, 2, 3, 4, 5, ...
    แบบรูปที่จำนวนเพิ่มขึ้นทีละ 2: 2, 4, 6, 8, 10, ...
    แบบรูปที่จำนวนเพิ่มขึ้นทีละ 10: 11, 21, 31, 41, ...

    
    1.2 แบบรูปของจำนวนที่ลดลง
    ตัวอย่าง
    แบบรูปที่จำนวนลดลงทีละ 1: 9, 8, 7, 6, 5, ...
    แบบรูปที่จำนวนลดลงทีละ 2: 19, 17, 15, 13, 11, ...
    แบบรูปที่จำนวนลดลงทีละ 5: 50, 45, 40, 35, ...

    
    1.3 แบบรูปของจำนวนที่ซ้ำ
    ตัวอย่าง
    แบบรูปที่ 1: 1, 22, 2, 22, 3, 22, 4, 22, ...
    แบบรูปที่ 2: 4, 56, 6, 56, 8, ...
    แบบรูปที่ 3: 123, 4, 123, 5, 123, 6, ...

2. แบบรูปเรขาคณิต (Geometric Patterns)
    เป็น แบบรูปที่แสดงชุดของรูปเรขาคณิตที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง แบ่งออกเป็น
     2.1. แบบรูปที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของรูปร่าง
         ตัวอย่าง
        จากการจะสังเกตุเราจะเห็นว่าแบบรูปแต่ละแถวเป็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตสีเดียวกันแตกต่างกันเพียงรูปทรงที่เรียงสลับตามลำดับซ้ำกันไปเรื่อยๆ 

     2.2. แบบรูปที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของสี
        ตัวอย่าง
        จากการสังเกตุเราจะเห็นว่าแบบรูปแต่ละแถวเป็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตรูปทรงเดียวกันแตกต่างกันเพียงสีที่เรียงสลับตามลำดับซ้ำกันไปเรื่อยๆ 

     2.3. แบบรูปที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของขนาด
         ตัวอย่าง
       จากการสังเกตุเราจะเห็นว่าแบบรูปแต่ละแถวเป็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตรูปทรงเดียวกันสีเดียงกันแตกต่างกันเพียงขนาดที่เรียงสลับตามลำดับซ้ำกันไปเรื่อยๆ


3. แบบรูปอื่นๆ (Picture Patterns)

    เป็น แบบรูปที่แสดงชุดของรูปภาพที่ไม่ใช่รูปเรขาคณิตที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
    เช่น แบบรูปที่มีทิศทางสัมพันธ์กัน
    ตัวอย่าง
         จากการสังเกตุเราจะเห็นว่าแบบรูปนี้เป็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปรูปภาพต่างๆเรียงสลับกันไปเรื่อยๆตามข้อกำหนดของแต่ละแบบรูป                      

การสอนลูกให้รู้จักแก้ปัญหาแบบรูป
การแก้ปัญหาแบบรูปไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กเล็กที่จะเข้าใจวิธีคิดและสามารถตอบได้ด้วยตัวเอง เราจึงต้องค่อยๆสอนทีละขั้น โดยก่อนที่จะให้ลูกๆทำแบบฝึกหัด เราสามารถสอนเค้าผ่านการฝึกสังเกตุแบบรูปที่พบเห็นรอบๆตัว เช่น ลวดลายบนเสื้อผ้า ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน รวมไปถึง การเรียงตัวของลูกปัดบนสร้อยหรือการจัดเรียงกระเบื้องที่ปูพื้นและผนังห้องน้ำ เป็นต้น จากนั้นเมื่อเขาเริ่มเข้าใจความหมายของแบบรูปแล้วเราอาจชวนลูกทำกิจกรรมฝึกการสังเกตผ่านการเล่น เช่น ใช้สิ่งของในบ้านมาต่อกัน ร้อยลูกปัด พิมพ์ภาพ หรือแม้แต่ใช้ ตัวต่อที่ลูกเล่นบ่อยๆมาใช้สอนก็ได้ เมื่อสอนแล้วควรเริ่มจากรูปแบบที่ง่ายไม่ซับซ้อนให้ลูกฝึกจนเกิดความชำนาญเสียก่อนแล้วจึงขยับระดับความยากของเนื้อหาไปสอนขั้นที่ซับซ้อนขึ้นไป ตามลำดับดังนี้

ขั้นที่ 1. ฝึกสังเกตแบบรูปที่เรียงกันเป็นเส้นตรงแถวเดียว (อนุกรมแถวเดียว) เพื่อฝึกสังเกตหารูปแบบความสัมพันธ์ และจำนวนภาพในแต่ละชุดภาพก่อน

กิจกรรม: ให้เด็กๆช่วยกันหาภาพหรือจำนวนที่หายไปจากแบบรูปที่กำหนดกันนะคะ
ข้อ 1
ข้อ 2
ข้อ 3
ข้อ 4
2, 4, 6, ...

ก.  10    ข. 8    ค. 0  

ขั้นที่ 2. ฝึกสังเกตุแบบรูปที่นอกเหนือจากการต่อกันเป็นเส้นตรง เช่น แบบรูปวงกลม หรือแบบรูปเก้าช่อง เพื่อฝึกทักษะการสังเกตุความสัมพันธ์ในแบบรูปที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แต่จริงๆก็ยังใช้แนวคิดเดียวกัน กรณีแบบรูปวงกลมอาจจำลองการร้อยลูกปัดเป็นเส้นแล้วค่อยนำมามัดเป็นวงกลมจะช่วยให้เด็กๆเห็นภาพความสัมพันธ์ชัดขึ้นค่ะ

กิจกรรม: ให้เด็กๆช่วยกันหาภาพหรือจำนวนที่หายไปจากแบบรูปที่กำหนดกันนะคะ
ข้อ 5

ข้อ 6
ข้อ 7
ข้อ 8
ข้อ 9
ข้อ 10
ข้อ 11
ข้อ 12

ขั้นที่ 3. ฝึกสังเกตแบบรูป 2 ชั้น (อนุกรม 2 ชั้น) เพื่อฝึกทักษะการสังเกตุความสัมพันธ์ในแบบรูปที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ในแบบรูปหนึ่งอาจมีความสัมพันธ์ทั้งรูปร่างและขนาดในแบบรูปเดียวกัน เป็นต้น

กิจกรรม: ให้เด็กๆช่วยกันหาภาพหรือจำนวนที่หายไปจากแบบรูปที่กำหนดกันนะคะ
ข้อ 5
ข้อ 6
ข้อ 7
ข้อ 8

สำหรับคำตอบ ดูได้ที่หน้า เฉลย ค่ะ

สำหรับโจทย์ฝึกทักษะเพิ่มความชำนาญเพิ่มเติมสามารถหาได้ในหนังสือแบบฝึกหัดแนะนำ โดยควรให้เด็กๆฝึกสังเกตุจากแบบรูปที่ง่ายไม่ซับซ้อนก่อนแล้วจึงค่อยให้ทำโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นค่ะ

Thursday, January 10, 2013

[Get Ready for Schoo]:: เตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัย

ปีนี้ปั้นสิบเริ่มเตรียมตัวเข้าเรียนชั้น ป.1 แล้ว จากคุณแม่มือใหม่ที่สอนลูกไม่เป็นเลย ผ่านไปหนึ่งปีเหมือนพอจะจับทางได้ว่าต้องสอนอะไรบ้าง และแต่ละเรื่องต้องทำยังไงลูกถึงจะเข้าใจ เลยจดบันทึกไว้เผื่อคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นๆที่อยากสอนลูกตามหัวเรื่องนั้นๆจะได้มาแชร์ความรู้กันนะคะ แม้จะไม่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักวิชาการทั้งหมดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ อย่างไรก็ดีหากโอกาสหน้ามีความเข้าใจเพิ่มเติมก็จะเข้ามาปรับปรุงเนื้อหาต่อไป สู้ๆค่ะ เพื่อลูกของเรา

ถึงจะเป็นเด็กอนุบาลตัวน้อยๆ แต่ก็มีเรื่องที่เค้าต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนในชั้นประถมต่อไปหลายเรื่องเลย รวมๆก็น่าจะประกอบด้วยทักษะพื้นฐานด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ,  และทักษะเชาว์ปัญญา ซึ่งกรอบการเรียนรู้ที่ได้รวบรวมไว้เพื่อใช้ในการเตรียมความพร้อมลูกนี้ หวานอ้างอิงจากมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละวิชาสำหรับเด็กประถมชั้นปีที่ 1 ภายใต้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 

หมายเหตุ  เนื่องจาการเรียนรู้ในช่วงชั้นปฐมวัยมักมีเนื้อหาบูรณาการรวมหัวข้อต่างๆที่ต้องเรียนรู้เข้าไว้ด้วยกัน ผ่านการสังเกตุสิ่งต่างๆรอบตัวและจากประสบการ์ณที่ได้ลงมือทำ บ่อยครั้งเราจึงพบว่าแบบทดสอบของเด็กวัยนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน โดยเฉพาะเรื่องของทักษะทางเชาว์ปัญญา ซึ่งทักษะเชาว์ปัญญาของเด็กปฐมวัยนี้เนื้อหาจะเน้นการฝึกทักษะด้านการสังเกตุ ทักษะกระบวนการคิด และทักษะความรู้รอบตัวเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งทักษะเหล่านี้ล้วนเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนวิชาอื่นๆในขั้นสูงขี้นต่อไป

คณิตศาสตร์

ช่วงชั้นปฐมวัยควรได้รับการเตรียมความพร้อมให้มีความรู้ทางคณิตศาสตร์ ครอบคลุมพื้นฐานเกี่ยวกับ 5 หมวดหลัก คือ จำนวน, การวัด, เรขาคณิต, พีชคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น เนื้อหาในส่วนนี้จึงแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้

1. จำนวนและตัวเลข
    1.1 การบอกจำนวน | 0-5 | 0-10 | 0-20 | 0-100 |
    1.2 การอ่านและการเขียน | เลขฮินดูอารบิก | เลขไทย | ตัวหนังสือ |
    1.3 การเขียนในรูปกระจาย | หลักหน่วย | หลักสิบ | หลักร้อย | 
    1.4 การเปรียบเทียบจำนวนและการใช้เครื่องหมาย = > < 
    1.5 การเรียงลำดับจำนวน 0-5 | 0-10 | 0-20 | 0-100 |
    1.6 การนับ | เพิ่มทีละ 1 | เพิ่มทีละ 2 | ลดทีละ 1 |
    1.7 การบวกจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน | 5 | 10 | 20 | 100 | 
    1.8 โจทย์ปัญหาการบวก
    1.9 การลบจำนวนที่มีตัวตั้งไม่เกิน | 5 | 10 | 20 | 100 | 
    1.10 โจทย์ปัญหาการลบ
    1.11 การบวก ลบระคน
    1.12 โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน
    
2. การวัด
    2.1 การวัดขนาด  | ความยาว | ความสูง | ความหนา |
    2.2 การวัดน้ำหนัก(การชั่ง) 
    2.3 การวัดปริมาตร(การตวง)
    2.4 เวลา | ช่วงเวลาในแต่ละวัน | วันในหนึ่งสัปดาห์ | เดือนในหนึ่งปี | จำนวนวันในแต่ละเดือน | 

3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

ทักษะทางเชาว์ปัญญา
ทักษะทางเชาว์ปัญญา
ในที่นี้ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก 3 ส่วนคือ ทักษะการสังเกตุ ทักษะการวิเคราะห์ และความรู้รอบตัว ซี่งปกติจะเป็นทักษะที่เด็กได้จากการเล่นและการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน โดยเนื้อหาที่พบบ่อยในข้อสอบวัดทักษะทางเชาว์ปัญญาประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ดังนี้

1. ทักษะการสังเกตุ
    1.1 ภาพเหมือน-ภาพต่าง   
    1.2 ภาพซ้อน
    1.3 ต่อลายภาพ 2 มิติ 
    1.4 สมมาตร 
    1.5 ภาพตรงข้าม 
    1.6 ภาพสะท้อน
    1.7 ภาพซ้อน
    1.8 เงาซ้อน
    1.9 ภาพตัดต่อ
    1.10 ภาพหมุน
    1.11 ภาพหมุน Shape

2. ทักษะกระบวนการคิด
    2.1 ความสัมพันธ์ 2 แกน
    2.2 แบ่งทีละเท่าๆกัน
    2.3 แทนสัญลักษณ์
    2.4 แทนสัญลักษณ์จัดหมวดหมู่
    2.5 ภาพที่หายไปจากชุด
    2.6 พับ-ตัด 2 ส่วน
    2.7 แบบรูป(อนุกรม)แถวเดียว (เดี่ยว, คู่)
    2.8 อนุกรมวงกลม
    2.9 อนุกรม 9 ช่อง (เดี่ยว​, คู่)
    2.10 คิดในวงกลม
    2.11 คิดในตาราง 9 ช่อง
    2.12 เหตุผล
    2.13 เหตุผลคิดวิเคราะห์
    2.14 ลูกเต๋า
    2.15 มองต่างมุม
    2.16 มองต่างมุม Top view
    2.17 แบ่งสัดส่วน

3. ความรู้รอบตัว
    3.1 จัดหมวดหมู่
    3.2 ระดับน้ำ
    3.3 ระดับน้ำ(การแทนที่)
    3.4 จม-ลอย

ภาษาไทย
สำหรับภาษาไทย กระทรวงศึกษาได้แบ่งพื้นฐานภาษาไทยที่เด็กต้องเรียนรู้ออกเป็น การอ่าน, การเขียน, 
การฟังและการพูด, หลักการใช้ภาษาไทย, วรรณคดีและวรรณกรรม

การอ่าน
อ่านออกเสียงคำคล้องจอง และข้อความสั้นๆ
บอกความหมายของคำและข้อความที่อ่าน
ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน
อ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน
บอกความหมายของเครื่องหมายและสัญลักษณ์สำคัญที่มักพบเห็นในชีวิตประจำวัน
มีมารยาทในการอ่าน

การเขียน
คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด
เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ
มีมารยาทในการเขียน

การฟัง การดู และการพูด
ฟังคำแนะนำ คำสั่งง่ายๆและปฏิบัติตาม
ตอบคำถามและเล่าเรื่อง
ที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง
พูดแสดงความคิดเห็น และแสดงความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู
พูดสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์
มีมารยาทในการฟัง การดูและการพูด

หลักการใช้ภาษาไทย
บอกและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย
เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ
เรียบเรียงคำเป็นประโยคง่ายๆ
ต่อคำคล้องจองง่ายๆ

วรรณคดีและวรรณกรรม
บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟัง วรรณกรรม ร้อยแก้วและร้อยกรอง สำหรับเด็ก
ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ

Wednesday, January 2, 2013

[Answer for Patterns and Relations Questions]:: เฉลยแบบฝึกหัดเรื่องแบบรูปและความสัมพันธ์

จงเลือกภาพที่สัมพันธ์กับแบบรูปที่กำหนดให้

จุดสังเกตุก่อนตอบคำถาม:
1. ขีดเส้นแบ่งชุดภาพที่ซ้ำกันแล้วแต่ละชุดประกอบด้วยรูปกี่รูป? มีรูปอะไรบ้าง?
2. แบบรูปมีความสัมพันธ์ด้วยคุณลักษณะใด? 
3. แบบรูปสัมพันธ์กันอย่างไร?

เฉลยข้อ 1
จุดสังเกตุ:
เมื่อขีดเส้นแบ่งชุดภาพเราจะเห็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตรูปวงกลมชุดละ 2 รูป คือ รูปวงกลมสีฟ้า และรูปวงกลมสีน้ำตาลสลับกันไป 
- เป็นแบบรูปที่มี "สี" สัมพันธ์กัน
- แบบรูปมีความสัมพันธ์ในรูปแบบ "AB" ซ้ำกันไปเรื่อยๆ 

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก. รูปวงกลมสีฟ้าค่ะ

เฉลยข้อ 2
จุดสังเกตุ:
- เมื่อขีดเส้นแบ่งชุดภาพเราจะเห็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตสีเขียวชุดละ 3 รูป คือ รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม และรูปวงกลม 
เป็นแบบรูปที่มี "รูปร่าง" สัมพันธ์กัน
- แบบรูปมีความสัมพันธ์ในรูปแบบ "ABC" ซ้ำกันไปเรื่อยๆ 

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค. รูปวงกลมค่ะ

เฉลยข้อ 3
จุดสังเกตุ:
- เมื่อขีดเส้นแบ่งชุดภาพเราจะเห็นแบบรูปที่ประกอบด้วยรูปเรขาคณิตสีชมพูชุดละ 3 รูป คือ รูปสี่เหลี่ยม 2 รูป และรูปวงกลม 1 รูป
เป็นแบบรูปที่มี "รูปร่าง" สัมพันธ์กัน
- แบบรูปมีความสัมพันธ์ในรูปแบบ "AAB" ซ้ำกันไปเรื่อยๆ 

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข. รูปวงกลมค่ะ

เฉลยข้อ 4
จุดสังเกตุ: 
- จำนวนแรกคือ 2 จำนวนถัดไปคือ 4 ซึ่งมีค่ามากกว่าจำนวนก่อนหน้าอยู่ 2
- ต่อจากจำนวน 4 คือ 6 ซึ่งมีค่ามากกว่าจำนวนก่อนหน้าอยู่ 2
- เราจึงสรุปได้ว่าแบบรูปนี้เป็นแบบรูปของจำนวนนับที่มีความสัมพันธ์แบบเพิ่มขึ้นทีละ 2 เท่าๆกัน โดยเริ่มต้นที่เลข 2 ดังนั้นจำนวนถัดไปจากจำนวนสุดท้าย ซึ่งคือ 6 จะต้องนับเพิ่มไปอีก 2 เป็น 8

คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข. 8 ค่ะ