ถึงจะเป็นเด็กอนุบาลตัวน้อยๆ แต่ก็มีเรื่องที่เค้าต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนในชั้นประถมต่อไปหลายเรื่องเลย รวมๆก็น่าจะประกอบด้วยทักษะพื้นฐานด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, และทักษะเชาว์ปัญญา ซึ่งกรอบการเรียนรู้ที่ได้รวบรวมไว้เพื่อใช้ในการเตรียมความพร้อมลูกนี้ หวานอ้างอิงจากมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละวิชาสำหรับเด็กประถมชั้นปีที่ 1 ภายใต้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
หมายเหตุ เนื่องจาการเรียนรู้ในช่วงชั้นปฐมวัยมักมีเนื้อหาบูรณาการรวมหัวข้อต่างๆที่ต้องเรียนรู้เข้าไว้ด้วยกัน ผ่านการสังเกตุสิ่งต่างๆรอบตัวและจากประสบการ์ณที่ได้ลงมือทำ บ่อยครั้งเราจึงพบว่าแบบทดสอบของเด็กวัยนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน โดยเฉพาะเรื่องของทักษะทางเชาว์ปัญญา ซึ่งทักษะเชาว์ปัญญาของเด็กปฐมวัยนี้เนื้อหาจะเน้นการฝึกทักษะด้านการสังเกตุ ทักษะกระบวนการคิด และทักษะความรู้รอบตัวเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งทักษะเหล่านี้ล้วนเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนวิชาอื่นๆในขั้นสูงขี้นต่อไป
คณิตศาสตร์
ช่วงชั้นปฐมวัยควรได้รับการเตรียมความพร้อมให้มีความรู้ทางคณิตศาสตร์ ครอบคลุมพื้นฐานเกี่ยวกับ 5 หมวดหลัก คือ จำนวน, การวัด, เรขาคณิต, พีชคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น เนื้อหาในส่วนนี้จึงแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1. จำนวนและตัวเลข
1.1 การบอกจำนวน | 0-5 | 0-10 | 0-20 | 0-100 |
1.2 การอ่านและการเขียน | เลขฮินดูอารบิก | เลขไทย | ตัวหนังสือ |
1.3 การเขียนในรูปกระจาย | หลักหน่วย | หลักสิบ | หลักร้อย |
1.4 การเปรียบเทียบจำนวนและการใช้เครื่องหมาย = > <
1.5 การเรียงลำดับจำนวน | 0-5 | 0-10 | 0-20 | 0-100 |
1.6 การนับ | เพิ่มทีละ 1 | เพิ่มทีละ 2 | ลดทีละ 1 |
1.7 การบวกจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน | 5 | 10 | 20 | 100 |
1.8 โจทย์ปัญหาการบวก
1.9 การลบจำนวนที่มีตัวตั้งไม่เกิน | 5 | 10 | 20 | 100 |
1.10 โจทย์ปัญหาการลบ
1.11 การบวก ลบระคน
1.12 โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน
2. การวัด
2.1 การวัดขนาด | ความยาว | ความสูง | ความหนา |
2.2 การวัดน้ำหนัก(การชั่ง)
2.3 การวัดปริมาตร(การตวง)
2.4 เวลา | ช่วงเวลาในแต่ละวัน | วันในหนึ่งสัปดาห์ | เดือนในหนึ่งปี | จำนวนวันในแต่ละเดือน |
3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
ทักษะทางเชาว์ปัญญา
ทักษะทางเชาว์ปัญญาในที่นี้ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก 3 ส่วนคือ ทักษะการสังเกตุ ทักษะการวิเคราะห์ และความรู้รอบตัว ซี่งปกติจะเป็นทักษะที่เด็กได้จากการเล่นและการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน โดยเนื้อหาที่พบบ่อยในข้อสอบวัดทักษะทางเชาว์ปัญญาประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. ทักษะการสังเกตุ
1.1 ภาพเหมือน-ภาพต่าง
1.2 ภาพซ้อน
1.3 ต่อลายภาพ 2 มิติ
1.4 สมมาตร
1.5 ภาพตรงข้าม
1.6 ภาพสะท้อน
1.7 ภาพซ้อน
1.8 เงาซ้อน
1.9 ภาพตัดต่อ
1.10 ภาพหมุน
1.11 ภาพหมุน Shape
2. ทักษะกระบวนการคิด
2.1 ความสัมพันธ์ 2 แกน
2.2 แบ่งทีละเท่าๆกัน
2.3 แทนสัญลักษณ์
2.4 แทนสัญลักษณ์จัดหมวดหมู่
2.5 ภาพที่หายไปจากชุด
2.6 พับ-ตัด 2 ส่วน
2.7 แบบรูป(อนุกรม)แถวเดียว (เดี่ยว, คู่)
2.8 อนุกรมวงกลม
2.9 อนุกรม 9 ช่อง (เดี่ยว, คู่)
2.10 คิดในวงกลม
2.11 คิดในตาราง 9 ช่อง
2.12 เหตุผล
2.13 เหตุผลคิดวิเคราะห์
2.14 ลูกเต๋า
2.15 มองต่างมุม
2.16 มองต่างมุม Top view
2.17 แบ่งสัดส่วน
3. ความรู้รอบตัว
3.1 จัดหมวดหมู่
3.2 ระดับน้ำ
3.3 ระดับน้ำ(การแทนที่)
3.4 จม-ลอย
ภาษาไทย
สำหรับภาษาไทย กระทรวงศึกษาได้แบ่งพื้นฐานภาษาไทยที่เด็กต้องเรียนรู้ออกเป็น การอ่าน, การเขียน,
การฟังและการพูด, หลักการใช้ภาษาไทย, วรรณคดีและวรรณกรรม
การอ่าน
อ่านออกเสียงคำคล้องจอง และข้อความสั้นๆ
บอกความหมายของคำและข้อความที่อ่าน
ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน
อ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน
บอกความหมายของเครื่องหมายและสัญลักษณ์สำคัญที่มักพบเห็นในชีวิตประจำวัน
มีมารยาทในการอ่าน
การเขียน
คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด
เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ
มีมารยาทในการเขียน
การฟัง การดู และการพูด
ฟังคำแนะนำ คำสั่งง่ายๆและปฏิบัติตาม
ตอบคำถามและเล่าเรื่อง
ที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง
พูดแสดงความคิดเห็น และแสดงความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู
พูดสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์
มีมารยาทในการฟัง การดูและการพูด
หลักการใช้ภาษาไทย
บอกและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย
เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ
เรียบเรียงคำเป็นประโยคง่ายๆ
ต่อคำคล้องจองง่ายๆ
วรรณคดีและวรรณกรรม
บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟัง วรรณกรรม ร้อยแก้วและร้อยกรอง สำหรับเด็ก
ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ
No comments:
Post a Comment